วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของมวยไทย


มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่า จะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทย ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทยเรา จริง ๆ ยากที่ ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้
มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ จะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไป บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้ เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้ ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้น ใครมีเพลงดาบดี และเก่งกาจทางรบพุ่งนั้น จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วยเพราะเวลารบพุ่งนั้น ต้องอาศัย มวยไทย เข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการ เป็นทหาร ได้เป็นอย่างดี



แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยกัน เพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน ระหว่างนักมวยที่เก่งจาก หมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้น และมีการ พนันขันต่อ มวยในสมัยนั้น ชกกันด้วยหมัดเปล่า ๆ ยังไม่มีการคาดเชือก เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทยต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้ แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า "คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว" นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียง เกี่ยวกับ วิชามวยไทย เป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้



ในสมัยต่อมา มวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่ และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงคราม และฝึกฝนเพื่อการ ต่อสู้ ป้องกันตัว บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระมหากษัตริย์ของไทยบาง พระองค์ มีฝีมือ ในทางมวยไทย อยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวัง ไปชกมวยกับชาวบ้าน และ ชกชนะด้วย ต่อมาประชาชน ทราบและเห็นว่า พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทย อยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มี ฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก เช่น พระเจ้าตากสิน วิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือก คือใช้เชือก เป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตาย เพราะเชือก ที่คาดมือนั้น บางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแล้วละเอียด ชกถูกตรงไหน ก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทยในสมัยนั้น มีอันตราย เป็นอันมาก



ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการ ชกมวยในสมัยนี้ ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลัง นวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกันในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิม คือ ยังใช้การ ถีบ ชก ศอก และเข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ฯ
 

ประวัติความเป็นมาของมวยไทย


มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่า จะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทย ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทยเรา จริง ๆ ยากที่ ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้
มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ จะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไป บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้ เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้ ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้น ใครมีเพลงดาบดี และเก่งกาจทางรบพุ่งนั้น จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วยเพราะเวลารบพุ่งนั้น ต้องอาศัย มวยไทย เข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการ เป็นทหาร ได้เป็นอย่างดี



แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยกัน เพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน ระหว่างนักมวยที่เก่งจาก หมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้น และมีการ พนันขันต่อ มวยในสมัยนั้น ชกกันด้วยหมัดเปล่า ๆ ยังไม่มีการคาดเชือก เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทยต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้ แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า "คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว" นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียง เกี่ยวกับ วิชามวยไทย เป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้



ในสมัยต่อมา มวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่ และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงคราม และฝึกฝนเพื่อการ ต่อสู้ ป้องกันตัว บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระมหากษัตริย์ของไทยบาง พระองค์ มีฝีมือ ในทางมวยไทย อยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวัง ไปชกมวยกับชาวบ้าน และ ชกชนะด้วย ต่อมาประชาชน ทราบและเห็นว่า พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทย อยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มี ฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก เช่น พระเจ้าตากสิน วิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือก คือใช้เชือก เป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตาย เพราะเชือก ที่คาดมือนั้น บางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแล้วละเอียด ชกถูกตรงไหน ก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทยในสมัยนั้น มีอันตราย เป็นอันมาก



ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการ ชกมวยในสมัยนี้ ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลัง นวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกันในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิม คือ ยังใช้การ ถีบ ชก ศอก และเข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ฯ
 

วิธีฝึกหัดมวยไทย สมัยก่อน ตามวิธีของ พระเหมสมาหาร


วิธีฝึกหัดมวยดังได้ฝึกมาแต่ก่อน จะปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่อเวลาลุกขึ้นจากนอนไม่ว่าเวลาใด ให้นอนหงายเหยียดเท้าตรงไปทั้งสองข้าง ให้ชกสองมือสุ่มขึ้นไปทั้งสองมือ จน ตัวตั้งตรงขึ้น วิธีทำดังนี้ หวังว่าให้เส้นสายบริบูรณ์ และให้มือสันทัดทั้งสองข้าง
๒. เมื่อเวลาจะล้างหน้า ให้เอามือวักน้ำมารอหน้า อย่าเอามือถูหน้า ให้เอาหน้าถูมือ กลอกไปมาจนล้างหน้าเสร็จ วิธีอันนี้ ทำให้ตาเราดี ไม่วิงเวียน เมื่อจะลอดหลบหลีก และให้เส้นสายคอของเราเคยด้วย
๓. เมื่อตะวันขึ้น ให้นั่งหันหน้าไปทางตะวัน เพ่งดูตะวันแต่เช้าไปจนสายพอสมควร วิธีอันนี้ ทำให้แสงตากล้า ถึงเขาจะ ชก หรือเตะมา ตาเราก็ไม่หลับเพ่งดูเห็นอยู่ได้ ไม่ต้องหลับตา
๔. เมื่อเวลาอาบน้ำ ให้มุดลืมตาในน้ำทุกที วิธีอันนี้ ทำให้แสงตากล้าขึ้นได้
๕. แล้วให้ลงไปในน้ำเพียงคอ ให้ถองน้ำทั้งสองศอกชุลมุน จนลอยขึ้นได้ วิธีอันนี้ ทำให้คล่องแคล่วกระบวนศอก และ บำรุงเส้นสาย ด้วย
๖. เมื่อเวลาเช้า เย็น หรือ กลางคืน ให้ชกลม เตะลม ถีบลม และกระโดดเข้ากระโดดออก เล่นตัวให้คล่องแคล่ว ทั้งศอก ทั้งเข่า เสมอ ทุกวัน วิธีอันนี้ เป็นที่ประเสริฐจริง ๆ
หมดวิชาฝึกหัดตัวเองเท่านี้



เมื่อครูเห็นว่า มือและเท้า ชก เตะ ถีบ คล่องแคล่วดีแล้ว จะบอกไม้ และยกครูเสียก่อน กรวย ๖ กรวย เงิน ๖ สลึง ผ้าขาว ๖ ศอก ดอกไม้ ธูป เทียนยกครู จุดธูปเทียนบูชาครู ครูจึงให้ยืนตรงขึ้นเท้าเรียงชิดกัน ครูจึงจับมือทั้งสองยกจรดหน้าผาก และประสิทธิ์ให้ว่า
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิกาละ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ไชยโยนิจจัง สิทธิกัมมัง ประสิทธิเม ฯ
แล้วให้ย่างสามขุม แล้วบอกไม้ต่อไป
๑. ไม้หนึ่งมาชักตีตีนน่าขึ้นพร้อมชัก
๒. ไม้สองปิดปกชกด้วยศอก
๓. ไม้สามชกข้ามไหล่
๔. ไม้สี่ชกนอกเมื่อชักออกให้ชกใน
๕. ไม้ห้าชกช้างประสานงา
ห้าไม้นี้เป็นไม้ของครู แล้วมีไม้เบ็ดเตล็ดต่อไป เช่น
ไม้ทัดมาลา ๑ ไม้กาฉีรัง ๑ ไม้หนุมานถวายแหวน ๑ ไม้ล้มพลอยอาบ ๑ ไม้ลิงชิงลูกไม้ ๑ ไม้กุมภกรรฐ์หักหอก ๑ ไม้ฤๅษีมุดสระ ๑ ไม้ทศกรรฐ์โสก ๑ ไม้ตาเพียนแฝงตอ ๑ ไม้นกคุ่มเข้ารัง ๑ ไม้คชสารกวาดหญ้า ๑ ไม้หักหลักเพชร ๑ ไม้คชสารแทงโรง ๑ ไม้หนุมานแหวกฟอง ๑ ไม้ลิงกลิ้ง ๑ ไม้กาลอดบ่วง ๑ ไม้หนุมานแบกพระ ๑ ไม้หนุมานถอนตอ ๑ ไม้หนูไต่ราว ๑ ไม้ตะหลบนก ๑ ไม้ตอแหล ๑ ฯ
บอกไว้แต่เพียง ๒๑ ไม้เท่านี้ก่อน แต่ไม้เบ็ดเตล็ดยังมีมากสุดจะพรรณนา
 

ทักษะมวยไทย

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

กติกามวยไทย
          ปัจจุบันกีฬามวยไทยอาชีพบนเวทีมวยมาตรฐานและ กีฬามวยไทยสมัครเล่น เป็นการต่อสู้ที่มีกฏกติกาชัดเจน มีนายสนามผู้ขออนุญาตจัด มีผู้จัดชก (Promoter) มีกรรมการให้คะแนนและกรรมการตัดสินชี้ขาด (Judge/Julies/Referee) กรรมการตัดสินจะต้องมีอย่างน้อย สาม คน มีกรรมการตัดสินชี้ขาดบนเวทีและกรรมการให้คะแนน การให้คะแนนนิยมให้เป็นยก ยกละ 10 คะแนน (ดูจากการใช้ศิลปะการป้องกัน การต่อสู้ ความบอบช้ำที่ได้รับ อันตรายจากบาดแผล การได้เปรียบเสียเปรียบ การคาดการณ์ผลสุดท้ายของการต่อสู้ การตัดคะแนนจากการเอารัดเอาเปรียบคู่ชกในขณะที่ไม่เหมาะสม การถูกทำให้เสียหลักหรือล้ม การถูกนับ ฯลฯ )ซึ่งพิจารณาโดยใช้หลักวิชาและประสบการณ์ของกรรมการที่ผ่านการตรวจสอบรับรองความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ การชกจัดเป็นยกมี 5 ยกๆ ละ 3 นาที พัก 2 นาที (เดิมกำหนด 4 ถึง 6 ยก) มุ่งผลเพียงแค่ แพ้ ชนะ และการแสดงออกของศิลปะการต่อสู้ชั้นสูง ผู้ชกต้องแต่งกายตามกำหนด และมีการสวมมงคลคาดผ้าประเจียด และก่อนชกต้องมีการไหว้ครูซึ่งเริ่มจากนั่ง กราบเบญจางคประดิษฐ์ คุกเข่าถวายบังคม ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน ท่ารำมวย (อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา) เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามค่าย สำนัก ท่ารำมวย อาทิ พระรามแผลงศร, ลับหอกโมกขศักดิ์ , กวางเหลียวหลัง , หงส์เหิร , สาวน้อยประแป้ง ฯลฯ มีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้เพลงสะหระหม่าแขกใช้ในการไหว้ครู เพลงบุหลันชกมวย และเพลงเชิด ใช้ในการต่อสู้ เครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา , กลองแขก, ฉิ่ง

มวยไทย

มวยไทย